วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เรื่อง แรงจูงใจของพนักงานขาย

การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน




















1.ความรู้ทั่วไปของการจูงใจ
2.ขวัญกำลังใจในการทำงาน
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
4.การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

1.1ความหมาย การจูงใจ(MOTIVATION) คือการที่บุคคลแสดงออกซึ่งความต้องการในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น การทำให้ตื่นตัว(Arousal) การคาดหวัง (Expectancy) การใช้เครื่องกระตุ้นเตือนใจ(Incentives) และการลงโทษ(Punishment) มาเป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างมีทิศทางเพื่อบรรลุจุดหมายหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
**การจูงใจเป็นพฤติกรรมที่มีความหมายและต่อเนื่อง เป็นแรงผลักดันจากภายในของบุคคล


** การจูงใจเป็นพฤติกรรมที่ผู้กระทำคาดหวังว่าเขาจะได้รับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
1.2 องค์ประกอบของการจูงใจ ได้แก่
1. บุคคลผู้ที่ชักจูงให้คนอื่นคล้อยตาม ต้องมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติมนุษย์
2. วิธีการจูงใจเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรม
3. แรงจูงใจ(Motive) คือ เงื่อนไขของอินทรีย์ที่มีผลที่จะเกิดความพร้อมที่จะเกิดพฤติกรรม (ภายใต้เงื่อนไข แรงขับ(Drives) ความต้องการ (Need) หรือสิ่งจูงใจ(Incentives)
4. ผู้รับการจูงใจ คือบุคคลหรือกลุ่มที่สมัครใจรับเงื่อนไขการจูงใจ
5.เป้าหมาย คือ พฤติกรรมสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดขึ้น

** แรงจูงใจในประเด็น มนุษยสัมพันธ์ คือ แรงจูงใจต่อการทำงาน /ความสำเร็จของการปฏิบัติงาน

1.3 ประเภทของแรงจูงใจ นักจิตวิทยาแบ่ง การจูงใจ เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) คือภาวะที่คนต้องการกระทำสิ่งใดด้วยตัวเองเพราะมองเห็นคุณค่าในการกระทำ สนใจที่จะกระทำจากจิตใจความชอบของเขาเอง มิได้ถูกบังคับหรือชักจูงให้ทำ
2.) การจูงใจภายนอก( Extrinsic motivation) คือสภาวะที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกให้คนต้องกระทำการบางอย่างเพื่อหวังผลตอบแทน ถ้าทำดีจะได้รางวัล ถ้าทำผิด จะถูกลงโทษ
** หากใช้แรงจูงใจภายนอกกระตุ้นการทำงาน คนงานจะเครียด มากกว่าสนุกกับงาน แต่หากใช้แรงจูงใจภายในเสริมแรง คนงานจะสนุกกับงาน(ควรจัดสภาพ แวดล้อมการทำงานให้ดี มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน)
1.4 สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ (Incentive) คือสิ่งที่กระตุ้นให้คนงานทำงาน เน้นการให้สิ่งของรางวัล(เน้นการควบคุมผลงานที่จะได้รับจากการทำงาน เช่นการใช้เงินรางวัลเป็นสิ่งจูงใจให้ทำงานตามเป้า เช่นกรณี รางวัลจาผลการปฏิบัติราชการดีเด่น ของ ก.พ.ร.
1.5 การให้รางวัล (reward) รางวัล คือสิ่งเสริมแรงที่ทำให้คนมีกำลังใจในการทำงาน ภายใต้เงื่อนไข ให้รางวัล เมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ให้รางวัลเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม การให้รางวัลต้องให้ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ช้าเกินไป และไม่เร็วจนเกินไป การให้รางวัลมี 2 แบบคือ
- รางวัลภายนอก (Extrinsic rewards) สิ่งของ จับต้องได้
- รางวัลภายใน(Intrinsic rewards) สิ่งที่เป็นรางวัลทางใจ เช่นการได้รับความสำเร็จ การมีความรับผิดชอบมากขึ้น
2.ขวัญกำลังใจในการทำงาน

2.1 ขวัญ คือสภาพการณ์ทางด้านจิตใจ ที่แสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะ ความกระตือรือร้น ความหวัง ความกล้า ขณะที่ คนที่ปราศจากขวัญ กำลังใจจะแสดงออกในลักษณะ เฉื่อยชา ความหวาดระแวง ขาดความเชื่อมั่น
** ขวัญกำลังใจในการทำงาน คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่ คณะ หรือสมาชิกทั้งมวลร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ด้วยความเต็มใจ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - ขวัญกำลังใจส่วนบุคคล (Individual morale)
- ขวัญกำลังใจหมู่คณะ (group morale)
** ขวัญกำลงใจที่ดีขององค์การ ก่อให้เกิดผลดี คือ ความสามัคคีกลุ่มที่ทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างความภักดีในองค์การ สร้างความเข้าใจอันดีฯ
2.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจที่ดี
1.บทบาท บุคลิกภาพผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำคือผู้เชื่อมโยงความเข้าใจอันดีขององค์การและผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ความพอใจต่อวัตถุประสงค์หลัก และนโยบายการดำเนินงานขององค์การ การจัดองค์การ โครงสร้าง ระบบงานที่มีประสิทธิภาพ
3.ความพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ
4.การให้บำเหน็จรางวัล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง
5.สภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ
6.สุขภาพกาย สุขภาพจิต และอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน
2.3 การเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
1.สร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ขวัญกำลังใจที่ดีเกิดจากทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
2. วางมาตรฐานและสร้างเครื่องมือวัดผลสำเร็จของงาน
3. เงินเดือนและค่าจ้าง
4.ความพึงพอใจในงานที่ทำ เปิดโอกาสให้คนงานใช้ความรู้ความสามารถเต็มที่
5.ความเป็นหน่วยหนึ่งของการทำงาน
6.ความสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การจัดสวัสดิการที่ดี หรือจัดหาประโยชน์เกื้อกูล (ประโยชน์นอกเหนือจากรายได้)
8.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
2.4 มาตรการวัดขวัญในการทำงาน เพื่อมิให้เกิดภาวะขวัญเสื่อม หรือเสียขวัญ
1. วัดระดับความสม่ำเสมอของผลงาน ผลงานขององค์การลดต่ำลง /ขึ้นสูง ผิดปกติ
สภาพคนงานเกิดความเฉื่อยชา ขาดงานบ่อยครั้ง ฯ
2. การขาดงานบ่อย ลาบ่อย สภาพดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใดมากระทบขวัญของคนงานหรือไม่ อย่างไร
3. การลาออกจากงาน หรือขอโยกย้ายงาน แม้องค์การจัดสวัสดิการที่เป็นธรรม จัดสภาพแวดล้อมดี แต่ยังมีคนงานลาออกอยู่จำนวนมาก
4.คำร้องทุกข์ หรือ บัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนผู้บังคับบัญชาหากมีบ่อยๆ และเป็นประจำ
5.การแจกแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบสภาพขวัญกำลังใจ ทุกรอบ 4-6 เดือน
6.การสัมภาษณ์ การสนทนากับคนงานในบางช่วงเวลา ที่เหมาะสม
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจ จำแนกเป็น 2 กลุ่ม
1.) กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา (Content Approach) เน้นการจูงใจในความต้องการ
2.)กลุ่มทฤษฎีกระบวนการ(Process Approach)เน้นพฤติกรรมการเรียนรู้
3.) กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา (Content Approach)
4.การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
4.1ความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) คือ ความรู้สึกนึกคิด โดยรวมของบุคคลที่มีต่อการทำงานเชิงบวก โดยสังเกตจาก
- ความคิด / งานท้าทาย มีคุณค่า มีประโยชน์
-อารมณ์ความรู้สึก/ พอใจ ตื่นเต้น สนุก เพลิดเพลิน มีกำลังใจ
-การกระทำ / ตั้งใจทำงาน อดทน กระตือรือร้น ขยัน มุ่งมั่น
4.2 หลักการส่งเสริมความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจในงานเกิดจาก.....
1.ความต้องการส่วนบุคคล 2.มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะของงาน
3.เกิดจากความต้องการที่จะประสบผลสำเร็จ 4.เกิดจากเนื้อหา ลักษณะงาน
5.ค่านิยมของคนทำงาน 6. พฤติกรรมการบริหารงานขององค์การ

4.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน มี 2 ปัจจัย คือ
1.)ปัจจัยภายนอก
- การยอมรับความท้าทายของงาน
- ทัศนคติต่องาน การให้รางวัล/ค่าตอบแทน/เงินเดือน/เงินพิเศษ
- เงื่อนไขเกี่ยวกับงาน/สภาพแวดล้อมของงาน
2.)ปัจจัยภายใน
- การตระหนักคุณค่าแห่งตน ภาพพจน์เชิงบวก
- บุคคลที่มีความสามารถจะทำงานเครียด มีความพึงพอใจในงาน
- สถานภาพงานสูงกว่า จะพึงพอใจในงานสูง
4.4 เทคนิคการสร้างความพึงพอใจในงาน
1. บทบาทผู้บริหาร จัดบรรยากาศในการทำงาน ด้านกายภาพ จิตวิทยา บรรยากาศความเป็นมิตร ติดต่อสื่อสารเปิดเผย มีอิสระในการทำงาน
2.บทบาทของผู้ปฏิบัติงาน
ทำงานมีจุดมุ่งหมาย/ คำนึงถึงคุณค่า /เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์
พัฒนาคุณภาพงานอยู่เสมอ / การทำงานคือการพัฒนาคุณค่าแก่ชีวิต
แสวงหาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง
4.5 เทคนิคการสร้างงานที่สามารถจูงใจคน
1. การออกแบบงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วม จูงใจให้คนอยากทำงาน
2.การสร้างงานที่ท้าทาย ผู้บริหาร ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
1.)การกำหนดงานในแนวนอน โดยการเพิ่มปริมาณงานมากกว่าปกติ
2.)การกำหนดงานในแนวดิ่ง โดยการเพิ่มความรับผิดชอบงานให้สูงขึ้น แต่ลดการควบคุมงานลง
3.) การพัฒนางาน(Job enrichment) คือการเปลี่ยนเนื้องาน และความรับผิดชอบให้สูงขึ้น
4.) การหมุนเวียนงาน เพื่อให้คนงานเรียนรู้งานมากขึ้น
5.) การกระจายอำนาจหน้าที่
6.) การยืดหยุ่นเวลาในการทำงาน
7.) คนงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงงาน/ร่วมกันทำงาน





ที่มาของเนื้อหา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=780df84f23762684