วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศของ 2 ธุรกิจ

ฟูจิ เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน

ข้อเสนอแนะของวิธีทำการตลาด
1. ควรมีการศึกษาถึงการจะทำธุรกิจโรงแรม ลักษณะการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวว่าในช่วงต่างๆตามเทศกาล หรือเดือนต่างๆมีการท่องเที่ยวบ่อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้วางแผนการลงทุนในโรงแรมได้ถูกต้อง เพราะบางช่วง บางพื้นที่ก็ไม่มีลุกค้ามากเท่าตามความต้องการที่ธุรกิจจะทำยอดของธุรกิจ


2. ควรศึกษาถึงทำเล ที่ตั้ง สถานที่ที่ต้องการลงทุน ถึงนักท่องเที่ยวว่ามีผลยังไงต่อธุรกิจ ถ้าหากทำเลดีแต่นักท่องเที่ยวน้อยก็ไม่น่าจะลงทุน 

3. ควรมีการวิเคราะห์ถึงความสามาถข้อได้เปรียบของธุรกิจ และควรวิเคราะห์ถึงข้อด้อยของกิจการเพื่อที่จะได้นำมาปรับปรุง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถที่จะเติบโตได้อย่างยาวนานในส่วนของธุรกิจประเภทนี้


4.ไม่ควรทำการลงทุนหรือร่วมลงทุนในประเทศที่เป็นเจ้าของอาหารญี่ปุ่น เพราะจะทำให้เสียเปรียบในเรื่องของการแข่งขัน

เอ็มเค ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาด
1. เอ็มเคควรจะมีการลงทุนทำธุรกิจในแถบเอเชีย ซึ่งเอ็มเคมีจุดขายที่เป็นในส่วนของครอบครัวมากกว่า จึงเหมาะแก่แถบเอเชียมากกว่า แถบยุโรป


2. ควรศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าเพื่อที่จะได้นำมาแก้ไข และทำการปรับปรุงว่าลูกค้าต้องการอะไรเพิ่มเติม หรือต้องการให้ทางธุรกิจปรับปรุงในส่วนใดบ้าง เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นของทางธุรกิจ


3. ควรมีการสร้างโปรโมชั่นต่างๆ ในช่วงวันหยุดในการที่จะเจาะกลุ่มต่างๆ ที่งในส่วนของคนวัยทำงาน นักศึกษา และกลุ่มของครอบครัว เพื่อที่จะได้ดึดดูดลูกค้าให้มีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

         โอกาสดีในการส่งออกข้าวไทย ความต้องการในตลาดสูงขึ้น หลังหลายประเทศเจอภัยธรรมชาติ ทำให้ชะลอส่งออก โบรกเกอร์นอกคาดราคาข้าวทะยานต่อเนื่องถึงกลางปีหน้า จ่อเกิดวิกฤติด้านอาหารโลกอีกครั้ง รัฐประกาศราคาอ้างอิงขยับขึ้น ชดเชยน้อยลง
         
          นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2553 น่าจะเป็นโอกาสดีในการส่งออกข้าวของไทย โดยทั้งปีคาดว่าจะส่งออกได้ในปริมาณ 9-10 ล้านตัน ตามที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ไว้ แต่ในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศยังไม่มีการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งในช่วงต้นปีน่าจะมีการขายข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กว่า 9.5 แสนตัน โดยขณะนี้กำลังเจรจากันอยู่กับ 9 ประเทศ และเชื่อว่าคำสั่งซื้อจะเข้ามาอีก ทำให้ทั้งปีน่าจะขายข้าวแบบจีทูจีไม่ต่ำกว่า 1.7 ล้านตัน ส่วนในปีนี้การส่งออกข้าวคาดว่าจะเกินเป้าหมาย โดยอาจมีปริมาณ 8.5-9 ล้านตัน
         
           สถานการณ์ราคาข้าวขณะนี้ ราคาส่งออกข้าวปัจจุบันเพิ่มขึ้นตันละ 10-20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นในส่วนของไทยไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาข้าวเวียดนามมีราคาสูงขึ้น ทำให้ส่วนต่างราคาข้าวไทยกับเวียดนามห่างกันเพียงช่วยให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
         
          ด้านกรมการค้าภายในแจ้งราคากลางอ้างอิง และอัตราชดเชย ช่วงวันที่ 16-30 พฤศจิกายน รวมทั้งราคารับซื้อข้าวเปลือกของรัฐบาลวันที่ 16 พฤศจิกายน ว่า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 13,002 บาท ชดเชยตันละ 2,298 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 12,620 บาท ชดเชยตันละ 1,680 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,501 บาท ไม่มีส่วนต่างที่ต้องชดเชย ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 8,473 บาท ชดเชยตันละ 1,027 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,914 บาท ชดเชยตันละ 1,086 บาท

ที่มา  คมชัดลึก 
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php


วิเคราะห์ SWOT

จุดแข็ง (Strengths)
                1. การส่งออกข้าวไทยเพิ่มสูงขึ้น
                2. ข้าวไทยมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
                3. ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่าประเทศอื่นๆ
จุดอ่อน (Weaknesses)
                1. มีคู่ค้าข้าวหลายประเทศในการส่งออกข้าวของประเทศไทย
                2. ขาดขาดการพัการทำวิจัยและฒนารูปแบบของสินค้า
                3. ขาดการทำตลาดเชิงรุก
โอกาส (Opportunities)
                1. การส่งออกข้าวไทย ความต้องการในตลาดสูงขึ้น หลังหลายประเทศเจอภัยธรรมชาติ
                2. มีกระแสว่าจะเกิดวิกฤติด้านอาหารโลก ทำให้ข้าวไทยเป็นตัวหลักสำคัญในกานส่งออกข้าว
อุปสรรค (Threats)
                1. การแข่งขันสูงจากหลายประเทศ เช่น   อินเดีย อียิปต์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย รวมถึงเวียดนาม

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบการเมืองอังกฤษ

              สหราชอาณาจักร หรือ อังกฤษ เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ซึ่งใช้อำนาจภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่บางส่วนมาจากกฎหมายที่ร่างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะที่อีกบางส่วนมาจากจารีตประเพณี ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า หลักการที่สำคัญที่สุดของระบบการเมืองอังกฤษ คือ อำนาจอธิปไตยของรัฐสภา กล่าวคือ รัฐสภามีอำนาจในการตรา หรือ ยกเลิกพระราชบัญญัติใดก็ได้ ตามที่เห็นสมควร พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาถือเป็นกฎหมายสูงสุดไม่มีกฎหมายใดมีอำนาจเหนือกว่า ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทำได้เพียงการตีความกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ในทางกฎหมาย และประเพณี ผู้ที่บริหารอำนาจนี้ ประกอบด้วย 3 สถาบัน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ สภาขุนนาง และสภาสามัญ

http://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/chapter2/Lesson7.htm        

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างปะเทศ

การตลาดระหว่างประเทศคือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆอยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล        

www1.webng.com/logisticseminar/


          การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น
แหล่งที่มาข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html


ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
          การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เรื่อง แรงจูงใจของพนักงานขาย

การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน




















1.ความรู้ทั่วไปของการจูงใจ
2.ขวัญกำลังใจในการทำงาน
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
4.การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

1.1ความหมาย การจูงใจ(MOTIVATION) คือการที่บุคคลแสดงออกซึ่งความต้องการในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น การทำให้ตื่นตัว(Arousal) การคาดหวัง (Expectancy) การใช้เครื่องกระตุ้นเตือนใจ(Incentives) และการลงโทษ(Punishment) มาเป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างมีทิศทางเพื่อบรรลุจุดหมายหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
**การจูงใจเป็นพฤติกรรมที่มีความหมายและต่อเนื่อง เป็นแรงผลักดันจากภายในของบุคคล


** การจูงใจเป็นพฤติกรรมที่ผู้กระทำคาดหวังว่าเขาจะได้รับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
1.2 องค์ประกอบของการจูงใจ ได้แก่
1. บุคคลผู้ที่ชักจูงให้คนอื่นคล้อยตาม ต้องมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติมนุษย์
2. วิธีการจูงใจเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรม
3. แรงจูงใจ(Motive) คือ เงื่อนไขของอินทรีย์ที่มีผลที่จะเกิดความพร้อมที่จะเกิดพฤติกรรม (ภายใต้เงื่อนไข แรงขับ(Drives) ความต้องการ (Need) หรือสิ่งจูงใจ(Incentives)
4. ผู้รับการจูงใจ คือบุคคลหรือกลุ่มที่สมัครใจรับเงื่อนไขการจูงใจ
5.เป้าหมาย คือ พฤติกรรมสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดขึ้น

** แรงจูงใจในประเด็น มนุษยสัมพันธ์ คือ แรงจูงใจต่อการทำงาน /ความสำเร็จของการปฏิบัติงาน

1.3 ประเภทของแรงจูงใจ นักจิตวิทยาแบ่ง การจูงใจ เป็น 2 ประเภท คือ
1.) การจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) คือภาวะที่คนต้องการกระทำสิ่งใดด้วยตัวเองเพราะมองเห็นคุณค่าในการกระทำ สนใจที่จะกระทำจากจิตใจความชอบของเขาเอง มิได้ถูกบังคับหรือชักจูงให้ทำ
2.) การจูงใจภายนอก( Extrinsic motivation) คือสภาวะที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกให้คนต้องกระทำการบางอย่างเพื่อหวังผลตอบแทน ถ้าทำดีจะได้รางวัล ถ้าทำผิด จะถูกลงโทษ
** หากใช้แรงจูงใจภายนอกกระตุ้นการทำงาน คนงานจะเครียด มากกว่าสนุกกับงาน แต่หากใช้แรงจูงใจภายในเสริมแรง คนงานจะสนุกกับงาน(ควรจัดสภาพ แวดล้อมการทำงานให้ดี มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน)
1.4 สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ (Incentive) คือสิ่งที่กระตุ้นให้คนงานทำงาน เน้นการให้สิ่งของรางวัล(เน้นการควบคุมผลงานที่จะได้รับจากการทำงาน เช่นการใช้เงินรางวัลเป็นสิ่งจูงใจให้ทำงานตามเป้า เช่นกรณี รางวัลจาผลการปฏิบัติราชการดีเด่น ของ ก.พ.ร.
1.5 การให้รางวัล (reward) รางวัล คือสิ่งเสริมแรงที่ทำให้คนมีกำลังใจในการทำงาน ภายใต้เงื่อนไข ให้รางวัล เมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ให้รางวัลเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม การให้รางวัลต้องให้ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ช้าเกินไป และไม่เร็วจนเกินไป การให้รางวัลมี 2 แบบคือ
- รางวัลภายนอก (Extrinsic rewards) สิ่งของ จับต้องได้
- รางวัลภายใน(Intrinsic rewards) สิ่งที่เป็นรางวัลทางใจ เช่นการได้รับความสำเร็จ การมีความรับผิดชอบมากขึ้น
2.ขวัญกำลังใจในการทำงาน

2.1 ขวัญ คือสภาพการณ์ทางด้านจิตใจ ที่แสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะ ความกระตือรือร้น ความหวัง ความกล้า ขณะที่ คนที่ปราศจากขวัญ กำลังใจจะแสดงออกในลักษณะ เฉื่อยชา ความหวาดระแวง ขาดความเชื่อมั่น
** ขวัญกำลังใจในการทำงาน คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่ คณะ หรือสมาชิกทั้งมวลร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ด้วยความเต็มใจ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - ขวัญกำลังใจส่วนบุคคล (Individual morale)
- ขวัญกำลังใจหมู่คณะ (group morale)
** ขวัญกำลงใจที่ดีขององค์การ ก่อให้เกิดผลดี คือ ความสามัคคีกลุ่มที่ทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างความภักดีในองค์การ สร้างความเข้าใจอันดีฯ
2.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจที่ดี
1.บทบาท บุคลิกภาพผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำคือผู้เชื่อมโยงความเข้าใจอันดีขององค์การและผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ความพอใจต่อวัตถุประสงค์หลัก และนโยบายการดำเนินงานขององค์การ การจัดองค์การ โครงสร้าง ระบบงานที่มีประสิทธิภาพ
3.ความพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ
4.การให้บำเหน็จรางวัล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง
5.สภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ
6.สุขภาพกาย สุขภาพจิต และอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน
2.3 การเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
1.สร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ขวัญกำลังใจที่ดีเกิดจากทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
2. วางมาตรฐานและสร้างเครื่องมือวัดผลสำเร็จของงาน
3. เงินเดือนและค่าจ้าง
4.ความพึงพอใจในงานที่ทำ เปิดโอกาสให้คนงานใช้ความรู้ความสามารถเต็มที่
5.ความเป็นหน่วยหนึ่งของการทำงาน
6.ความสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การจัดสวัสดิการที่ดี หรือจัดหาประโยชน์เกื้อกูล (ประโยชน์นอกเหนือจากรายได้)
8.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
2.4 มาตรการวัดขวัญในการทำงาน เพื่อมิให้เกิดภาวะขวัญเสื่อม หรือเสียขวัญ
1. วัดระดับความสม่ำเสมอของผลงาน ผลงานขององค์การลดต่ำลง /ขึ้นสูง ผิดปกติ
สภาพคนงานเกิดความเฉื่อยชา ขาดงานบ่อยครั้ง ฯ
2. การขาดงานบ่อย ลาบ่อย สภาพดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใดมากระทบขวัญของคนงานหรือไม่ อย่างไร
3. การลาออกจากงาน หรือขอโยกย้ายงาน แม้องค์การจัดสวัสดิการที่เป็นธรรม จัดสภาพแวดล้อมดี แต่ยังมีคนงานลาออกอยู่จำนวนมาก
4.คำร้องทุกข์ หรือ บัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนผู้บังคับบัญชาหากมีบ่อยๆ และเป็นประจำ
5.การแจกแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบสภาพขวัญกำลังใจ ทุกรอบ 4-6 เดือน
6.การสัมภาษณ์ การสนทนากับคนงานในบางช่วงเวลา ที่เหมาะสม
3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจ จำแนกเป็น 2 กลุ่ม
1.) กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา (Content Approach) เน้นการจูงใจในความต้องการ
2.)กลุ่มทฤษฎีกระบวนการ(Process Approach)เน้นพฤติกรรมการเรียนรู้
3.) กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา (Content Approach)
4.การสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
4.1ความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) คือ ความรู้สึกนึกคิด โดยรวมของบุคคลที่มีต่อการทำงานเชิงบวก โดยสังเกตจาก
- ความคิด / งานท้าทาย มีคุณค่า มีประโยชน์
-อารมณ์ความรู้สึก/ พอใจ ตื่นเต้น สนุก เพลิดเพลิน มีกำลังใจ
-การกระทำ / ตั้งใจทำงาน อดทน กระตือรือร้น ขยัน มุ่งมั่น
4.2 หลักการส่งเสริมความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจในงานเกิดจาก.....
1.ความต้องการส่วนบุคคล 2.มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะของงาน
3.เกิดจากความต้องการที่จะประสบผลสำเร็จ 4.เกิดจากเนื้อหา ลักษณะงาน
5.ค่านิยมของคนทำงาน 6. พฤติกรรมการบริหารงานขององค์การ

4.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน มี 2 ปัจจัย คือ
1.)ปัจจัยภายนอก
- การยอมรับความท้าทายของงาน
- ทัศนคติต่องาน การให้รางวัล/ค่าตอบแทน/เงินเดือน/เงินพิเศษ
- เงื่อนไขเกี่ยวกับงาน/สภาพแวดล้อมของงาน
2.)ปัจจัยภายใน
- การตระหนักคุณค่าแห่งตน ภาพพจน์เชิงบวก
- บุคคลที่มีความสามารถจะทำงานเครียด มีความพึงพอใจในงาน
- สถานภาพงานสูงกว่า จะพึงพอใจในงานสูง
4.4 เทคนิคการสร้างความพึงพอใจในงาน
1. บทบาทผู้บริหาร จัดบรรยากาศในการทำงาน ด้านกายภาพ จิตวิทยา บรรยากาศความเป็นมิตร ติดต่อสื่อสารเปิดเผย มีอิสระในการทำงาน
2.บทบาทของผู้ปฏิบัติงาน
ทำงานมีจุดมุ่งหมาย/ คำนึงถึงคุณค่า /เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์
พัฒนาคุณภาพงานอยู่เสมอ / การทำงานคือการพัฒนาคุณค่าแก่ชีวิต
แสวงหาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง
4.5 เทคนิคการสร้างงานที่สามารถจูงใจคน
1. การออกแบบงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วม จูงใจให้คนอยากทำงาน
2.การสร้างงานที่ท้าทาย ผู้บริหาร ดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
1.)การกำหนดงานในแนวนอน โดยการเพิ่มปริมาณงานมากกว่าปกติ
2.)การกำหนดงานในแนวดิ่ง โดยการเพิ่มความรับผิดชอบงานให้สูงขึ้น แต่ลดการควบคุมงานลง
3.) การพัฒนางาน(Job enrichment) คือการเปลี่ยนเนื้องาน และความรับผิดชอบให้สูงขึ้น
4.) การหมุนเวียนงาน เพื่อให้คนงานเรียนรู้งานมากขึ้น
5.) การกระจายอำนาจหน้าที่
6.) การยืดหยุ่นเวลาในการทำงาน
7.) คนงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงงาน/ร่วมกันทำงาน





ที่มาของเนื้อหา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=780df84f23762684